ตำรวจเฮติปะทะกลุ่มติดอาวุธ สังหารหัวหน้าแก๊งอาชญากร!

สถานการณ์ในเฮติยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเกิดเหตุปะทะกันระหว่างกองกำลังตำรวจ และกลุ่มติดอาวุธในเฮติ จากเหตุการณ์นี้ ส่งผลให้หัวหน้าแก๊งอาชญากรเสียชีวิต 1 ราย ขณะที่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเฮติได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก หลายแสนคนต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่น และจำนวนหนึ่งต้องอพยพหนีไปต่างประเทศ

โดยปรากฎภาพร่างที่ไหม้เกรียมเกลื่อนท้องถนนในเมืองหลวงของเฮติเมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา หลังจากเกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังตำรวจเฮติ และกลุ่มแก๊งอาชญากรในพื้นที่

รายงานข่าวระบุว่า ปฏิบัติการของตำรวจที่มีขึ้นในวันก่อนหน้านี้ ได้สังหาร เอิร์นส์ จูล์ม (Ernst Julme) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ติ เกร็ก (Ti Greg) ซึ่งเป็นหัวหน้าแก๊ง Delmas 95 และสมาชิกหลายสิบคน

ก่อนที่วันถัดมา เจ้าหน้าที่จะเข้ามาเก็บกู้ศพ และนำร่างเหล่านี้ไปฝังไว้ในหลุมฝังศพหมู่ในสุสานแห่งหนึ่งของกรุงปอร์โตแปรงซ์ ทั้งนี้ประเทศเฮติเผชิญกับเหตุรุนแรงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่กลุ่มแก๊งอาชญากรได้ก่อเหตุจลาจลในเรือนจำหลัก รวมถึงบุกโจมตีสถานีตำรวจ และสนามบินนานาชาติกลางเมืองหลวง

แม้ว่าแอเรียล อองรี จะประกาศลาออกจากตำแหน่ง แต่สถานการณ์ยังคงไม่สงบลง ขณะที่การจัดตั้งสภาเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในเฮติเพื่อเข้ามารับช่วงต่อในการบริหารประเทศเป็นการชั่วคราวยังคงไม่เป็นรูปเป็นร่างคำพูดจาก สล็อต777

อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า กลุ่มก้อนทางการเมืองในเฮติใกล้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาดังกล่าวแล้ว แต่ยังไม่มีรายงานรายละเอียดเพิ่มเติม

ความไร้เสถียรภาพ ความยากจน และอันตรายจากกลุ่มแก๊งอาชญากรคือส่วนสำคัญที่ผลักให้ชาวเฮติจำนวนมากหนีออกนอกประเทศ หนึ่งในจุดหมายปลายทางคือ สหรัฐฯ ซึ่งเส้นทางการอพยพลำบากและยาวนาน แต่สุดท้ายแล้ว จำนวนมากจะมาออกันอยู่ที่ชายแดนบริเวณรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯ ซึ่งติดกับประเทศเม็กซิโก

ในช่วงที่ 2-3 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ขอลี้ภัยมีมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากข้อมูลของทางการสหรัฐฯ ระบุว่า ตัวเลขผู้ขอลี้ภัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเดือนธันวาคมปี 2023 มีจำนวนผู้ขอลี้ภัยบริเวณชายแดนสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

จากข้อมูลระบุว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ต้องเผชิญหน้ากับผู้ขอลี้ภัยในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 370,000 คน ซึ่งทุบสถิติเดิมของเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 224,000 คน

ขณะที่ข้อมูลของกรมศุลกากรและป้องกันชายแดนของสหรัฐอเมริกา (CBP) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2019 ถึง มกราคมปี 2024 เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ต้องเผชิญหน้ากับผู้ขอลี้ภัยบริเวณชายแดนมากกว่า 9.8 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งเทียบเท่ากับจำนวนประชากรในปัจจุบันของรัฐมิชิแกน ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 10 ของสหรัฐฯ

ปัญหาบริเวณชายแดนสหรัฐฯ ทำให้ปีนี้ข้อถกเถียงเรื่องผู้อพยพดุเดือดมาก เนื่องจากจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี รีพับลิกันออกมากล่าวหานโยบายของรัฐบาลโจ ไบเดนว่าเป็นคนที่ทำให้ปัญหานี้วิกฤตความขัดแย้งหนักจนกระทั่งบรรดารัฐที่อยู่แนวชายแดนและมีผู้ว่าการเป็นรีพับลิกันออกมาประกาศแข็งข้อกับแนวทางของรัฐบาลกลาง หนึ่งในนั้นคือรัฐเท็กซัส

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เกร็ก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส พร้อมด้วยผู้ว่าการรัฐต่างๆ ที่มาจากพรรครีพับลิกันอีก 13 คน ได้รวมตัวกันที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเมืองอีเกิล พาส พวกเขาประท้วงต่อต้านการอพยพข้ามชายแดนของผู้ขอลี้ภัย ภายใต้สโลแกน Take our border back ประกาศว่าจะไม่ยอมเปิดชายแดนให้กับผู้ขอลี้ภัยจากอเมริกาใต้เข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมายเด็ดขาด

นอกจากนี้ยังสั่งวางกำลังป้องกันชาติตามชายแดนที่มีลวดหนามติดใบมีดวางตลอดแนวชายแดนด้วย รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ฟ้องร้องผู้ว่าการรัฐเท็กซัสในข้อหาควบคุมพื้นที่สาธารณะที่มีทางลาดไปยังแม่น้ำ และวางลวดหนามริมฝั่งแม่น้ำ รวมถึงกล่าวหารัฐเท็กซัสด้วยว่า ได้ขัดขวางไม่ให้ตำรวจตระเวนชายแดนของรัฐบาลกลางเข้าไปยังแม่น้ำเพื่อช่วยเหลือผู้ขอลี้ภัยสามคนที่จมน้ำตาย

จนกระทั่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสถานการณ์ตึงเครียดหนักขึ้น เมื่อศาลสูงสหรัฐฯ ปฏิเสธคำฟ้องของฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และไฟเขียวให้กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองของรัฐเท็กซัสมีผลบังคับใช้

เมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ศาลฎีกาของสหรัฐฯ ได้อนุญาตให้ กฎหมายของรัฐเท็กซัส ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรครีพับลิกันมีผลบังคับใช้ โดยกฎหมายนี้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของรัฐเท็กซัสจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยข้ามชายแดนสหรัฐฯ และเม็กซิโกอย่างผิดกฎหมาย

ทั้งนี้รัฐเท็กซัสกำหนดให้ผู้ที่เข้าไปยังรัฐเท็กซัสอย่างผิดกฎหมายถือเป็นอาชญากรของรัฐ โดยมีโทษจำคุกตั้งแต่ 180 วัน ไปจนถึง 20 ปี และยังให้อำนาจผู้พิพากษาของรัฐเท็กซัสออกคำสั่งให้ผู้ขอลี้ภัยเดินทางกลับไปยังเม็กซิโก โดยหากผู้ที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายฝ่าฝืนคำสั่ง มีโทษจำคุกสูงสุด 20 ปี คำตัดสินของศาลสูงสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ออกคำสั่ง

นี่จึงทำให้เกร็ก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส ออกมาบอกว่าเป็นข่าวดี และเรียกคำตัดสินของศาลสูงในครั้งนี้ว่าเป็นพัฒนาการในเชิงบวกอย่างเห็นได้ชัด

อย่างไรก็ดี ทางการเม็กซิโกระบุว่าเป็นการเหยียด โดย อลิเซีย บาร์เซนา รัฐมนตรีต่างประเทศเม็กซิโกเรียกกฎหมายของรัฐเท็กซัสฉบับนี้ว่าเป็นการต่อต้านผู้ขอลี้ภัยและสร้างความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ

ขณะที่อันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ประธานาธิบดีเม็กซิโกได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายของรัฐเท็กซัสเช่นเดียวกันโดยชี้ว่ากฎหมายฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายที่เข้มงวด ลดทอนความเป็นมนุษย์ และไม่ยุติธรรม พร้อมย้ำว่า เม็กซิโกจะไม่ยอมรับการเนรเทศผู้ขอลี้ภัยจากทางฝั่งรัฐเท็กซัส

หลังจากนั้นก็เกิดความวุ่นวายตามชายแดนอย่างหนัก นี่คือภาพถ่ายจากโดรนที่เผยให้เห็นภาพของรั้วกั้นลวดหนามที่แบ่งแยกฝั่งระหว่างผู้ขอลี้ภัยที่ตั้งค่ายพักแรมริมแม่น้ำริโอแกรนด์ กับกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิของรัฐเท็กซัส

จากนั้นก็มีภาพของผู้ขอลี้ภัยจำนวนหนึ่งจากฝั่งเม็กซิโกช่วยกันพังรั้วลวดหนามบริเวณชายแดนเอลปาโซ เพื่อหวังจะลักลอบข้ามพรมแดนเข้าไปในสหรัฐฯ ขณะที่เจ้าหน้าที่บริเวณชายแดนพยายามยิงสกัดผู้คนที่พยายามรื้อถอนรั้วกั้นลวดหนาม

แม้ว่าความพยายามของผู้ขอลี้ภัยจะไม่สำเร็จ แต่พวกเขายังคงตั้งค่ายพักแรมตามริมฝั่งแม่น้ำริโอแกรนด้วยความหวังว่า สักวันหนึ่งพวกเขาจะมีโอกาสข้ามชายแดนเข้าไปยังสหรัฐฯ อย่างเช่นผู้ขอลี้ภัยคนนี้ ซึ่งเป็นคุณแม่ลูกสาม เธอบอกว่ารออยู่ตรงนี้มานานหลายวันแล้ว และกำลังรอสถานการณ์คลี่คลายคำพูดจาก เว็บพนันออน

ส่วนความเคลื่อนไหวในเมืองเอลปาโซ มีผู้คนหลายสิบคน ซึ่งรวมถึงผู้คนในท้องถิ่น และผู้นำทางศาสนาเข้าร่วมเดินขบวนเพื่อต่อต้านกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามการเดินขบวนได้สิ้นสุดลงอย่างสงบ หลังจากมีการไว้อาลัยผู้ขอลี้ภัยที่เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ที่ศูนย์กักกันผู้อพยพในเมืองซิวดัด ฮัวเรซ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายแดนของฝั่งเม็กซิโก ที่เกิดขึ้นเมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว

ราคาทองวันนี้ (25 มี.ค.2567) เปิดตลาด "ขึ้น 50 บาท" จากสุดสัปดาห์

กางปฏิทิน เงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจำ จ่าย 2 รอบ ปี 2567

เช็กเงื่อนไข เปลี่ยนแบตเตอรี่ iPhone-iPad หากแบตเสื่อม

By admin

Related Post