“ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน…ยังเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลกไปอีกหลายทศวรรษ แต่เราจะอยู่กับพลังงานฟอสซิลอย่างไรเพื่อโลกยั่งยืน” เป็นคำกล่าวของ “ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในโอกาสที่พาสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมแหล่งผลิตและสำรวจปิโตรเลียม “ดรอเก้น” ที่เมืองคริสเตียนซุนด์ ประเทศนอร์เวย์ ของบริษัทโอเกีย เอเอสเอ ที่บางจาก ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เพื่อรุกธุรกิจต้นน้ำอย่างเต็มรูปแบบ ในสัดส่วน 45.7% และยังเป็นการไปเยือนครั้งแรกของทั้งผู้บริหารและการเปิดต้อนรับสื่อมวลชน
เหตุผลใหญ่!! ของการลงทุนและรุกธุรกิจต้นน้ำในครั้งนี้ เป็นเพราะมีการประเมินกันว่า…แนวโน้มวิกฤติพลังงานหลังจากสงครามรัสเซียและยูเครน มีโอกาสลากยาวไปถึง 3 ปี ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของบริษัทน้ำมันไม่น้อย โดยเฉพาะการรับมือความผันผวนด้านราคา หากบริษัทไม่มีแหล่งปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติเป็นของตัวเอง
ขณะเดียวกันความมั่นคงทางด้านพลังงาน ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบางจาก ดังนั้นคณะกรรมการบริษัท จึงเห็นดีเห็นงามให้บางจากต้องขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจผลิตและสำรวจปิโตรเลียม ซึ่งการเข้าไปลงทุนในแต่ละแห่งต้องยึดโยงใน 3 ปัจจัยหลักสำคัญ ทั้งปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่ต้องเหลือให้ดำเนินการได้อีกอย่างน้อย 7-10 ปี ขณะเดียวกันต้องมีต้นทุนปากหลุมไม่เกิน 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สุดท้าย…การลงทุนต้องมีพันธมิตร ซึ่ง “โอเกีย” เคยเป็นสตาร์ทอัพจากนอร์เวย์ ที่เน้นรับช่วงผลิตน้ำมันจากแท่นที่กำลังจะหมดอายุ บริษัทใหญ่ ๆ ทำแล้วไม่คุ้ม แต่โอเกียในฐานะสตาร์ทอัพขนาดเล็กกว่า สามารถบริหารต้นทุนได้ดีกว่า หากให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เป็นการลงทุนในรูปแบบของการ “รับเซ้ง” นั่นเอง
“ชัยวัฒน์” ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท โอเกีย เอเอสเอ ประเทศนอร์เวย์ ผู้ประกอบธุรกิจสำรวจและผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออสโล บอกว่า การเข้าสู่ธุรกิจต้นน้ำในครั้งนี้ ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง เพราะหลังจากที่บางจากลงทุนในโอเกียมาได้ 4 ปี ปรากฏว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 65 นี้ ประมาณ 30% ของ กำไรขั้นต้น ของกลุ่มบางจาก เกิดจากโอเกีย และนอกจากจะผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องแล้ว ราคาพลังงานขาขึ้นยังทำให้รายได้เติบโตได้อย่างดีอีกด้วย
ที่สำคัญ!!”บางจาก” ถือเป็นบริษัทไทยรายแรกที่เข้ามาปักธงร่วมทุนผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งทะเลเหนือ ที่เป็นแหล่งน้ำมันดิบที่มีคุณภาพสูง เบา เพราะมีกำมะถันต่ำ และมีราคาสูง โดยแหล่งดรอเก้นนี้ถือเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตและสำรวจของนอร์เวย์ที่มีมากกว่า 33 แหล่ง ที่สร้างรายได้ต่อหัวในระดับสูงอันดับต้น ๆ ของโลกให้กับชาวนอร์เวย์ โดยโอเกีย เข้าไปรับเซ้งจาก “เชลล์” มาเมื่อปี 2561 ที่แม้ผลิตมากว่า 30 ปีแล้ว แต่ก็พบว่ายังสามารถผลิตปิโตรเลียมได้ 15,000-17,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เมื่อเทียบกับอ่าวไทยที่ในช่วงพีกยังผลิตได้ 15,000 บาร์เรล ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งที่ดี โดยในช่วงแรกเริ่มเมื่อ 30 ปีก่อน สามารถผลิตได้ 2 แสนบาร์เรล มากกว่าน้ำมันที่ผลิตในไทยทั้งประเทศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“ดรอเก้น”เป็นแท่นขุดเจาะและผลิตปิโตรเลียม ที่อยู่บนไหล่ทวีปของนอร์เวย์ ห่างจากเมืองคริสเตียนซุนด์ เมืองท่าชายฝั่งตะวันตกของนอร์เวย์ประมาณ 150 กม. โดยเป็นแท่นขุดเจาะที่มีขาเดียวในโลก ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษไม่เหมือนใครและเป็นผู้นำแห่งครั้งแรกในด้านเทคนิคมากมาย ที่มีความสูงถึง 270 เมตร เป็นแท่นคอนกรีตที่ห่อหุ้มโครงเหล็กเพื่อให้แข็งแรงและคงทนต่อกระแสน้ำทะเลที่รุนแรงและอากาศที่หนาวเย็นของทะเลนอร์เวย์ที่อยู่เหนือกว่าทะเลเหนือขึ้นไปอีก สามารถกักเก็บน้ำมันใต้ทะเลที่อยู่รอบฐานได้ถึง 1 ล้านบาร์เรล
อย่างไรก็ตาม “โอเกีย” ซึ่งถือว่ามีความเชี่ยวชาญในการผลิตและขุดเจาะปิโตรเลียมระยะกลางถึงปลาย ยังได้นำเทคโนโลยีมาปรับปรุง กระบวนการผลิตของแหล่งดรอเก้นให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทำให้สามารถยืดเวลาการผลิตออกไปได้อีก 10 ปี จนถึงปี 2578 และยังมองหาโอกาสใหม่เพื่อยืดอายุแหล่งที่ตั้งเป้าให้สามารถผลิตได้ถึงปี 2583 ล่าสุด…ได้สำรวจแหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็กในบริเวณใกล้หรือแหล่งแฮสเซลมุส แหล่งปิโตรเลียมย่อยแห่งใหม่ที่เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติเพื่อเชื่อมต่อกับดรอเก้น ช่วยเพิ่มปริมาณปิโตรเลียมได้ประมาณ4,000บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน นั่นหมายความว่า…ภายในไตรมาสสุดท้ายของปี 66 แหล่งดรอเก้นจะสามารถผลิตปิโตรเลียมได้มากถึง 20,000-25,000 บาร์เรลทีเดียว
“ชัยวัฒน์” ย้ำว่า ก่อนเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานทดแทน ที่เชื่อว่าต้องใช้เวลาอีกยาวนานนั้น “บางจาก” จะนำประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าไปลงทุนในนอร์เวย์ครั้งนี้ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมสูงสุดไปขยายกิจการต่อไป โดยโอเกียวางแผนใช้พลังงานโซลาร์และพลังงานลม มาใช้บนแท่น เพื่อตอบสนองนโยบายเน็ท ซีโร่ ที่นอร์เวย์มีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50-55% ภายในปี 2573 โดยปัจจุบันได้กำหนดภาษีคาร์บอนที่ 80 ยูโรต่อตันคาร์บอนฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนฯ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่า 200 ยูโรต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2573 ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจพลังงานของนอร์เวย์พยายามรักษามาตรฐานการผลิตให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
นั่น!! ก็เช่นเดียวกับบางจากที่การขยายกิจการต้องอยู่ ภายใต้ความสมดุลใน 3 ด้าน คือ ความมั่นคงด้านพลังงาน การเข้าถึงพลังงานและความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยจะนำความรู้และประสบการณ์เรื่องเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน หรือซีซีเอส จากนอร์เวย์ เข้ามาดำเนินการ โดยอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อวางแนวทาง ขณะเดียวกัน ก็เร่งส่งเสริมและขยายการลงทุนในธุรกิจสีเขียว มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนธุรกิจสีเขียวจากปัจจุบัน 30% เป็น 50% ภายในปี 73 ด้วยเช่นกัน.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง